การเดินทางของทองคำ
วันนี้เราจะมาย้อนรอยเส้นทางของทองคำกันนะครับ ก่อนที่มันจะเดินทางมาถึงตอนนี้ที่ราคา 2400 กว่าดอลลาร์ ที่เป็นราคาสูงสุดที่เคยทำได้ ถึงขั้นเรียกได้เลยว่าเป็นยุคที่ 3 ของทองคำ ทำให้เทรดเดอร์หรือว่านักลงทุนหลายๆคนอาจจะกำลังกงวลว่าจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่แตกอีกครั้งรึป่าว เพราะถ้ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ ก็อาจจะทำให้เราขาดทุนได้ยาวเกือบ 20 ปี และอาจจะทำให้การลงทุนของเรามันกลับไปในช่วงที่ยากลำบากอีกครั้งถ้าเกิดว่ามีฟองสบู่แตกเกิดขึ้นอีกจริงๆ
ยุคแรกของทองคำนะครับคือต้องย้อนกลับไปในปี 1971 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สิ้นสุดระบบ Gold Standard ระบบ Gold Standard อธิบายให้เข้าใจง่ายๆคือ เป็นระบบมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศที่จะผูกค่าเงินไว้กับทองคำ
ยุคที่ 1 จุดเริ่มต้น ปี 1970 - 1980
ยุคแรกของทองคำนะครับคือต้องย้อนกลับไปในปี 1971 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สิ้นสุดระบบ Gold Standard ระบบ Gold Standard อธิบายให้เข้าใจง่ายๆคือ เป็นระบบมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศที่จะผูกค่าเงินไว้กับทองคำ
ก็คือตอนนั้น ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐฯ ได้ประกาศยุติการผูกค่าเงินกับทองคำในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนซ์ หลังจากนั้นจะพบว่าราคาทองคำเคยปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงมาแล้ว เนื่องจากเกิดวิกฤตราคาน้ำมันขึ้นหลายรอบ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งราคาน้ำมันพุ่งขึ้นหลายครั้งผลักดันให้ราคาทองพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วยนั้นเองครับ แต่สุดท้ายก็จบด้วยวิกฤต
ฟองสบู่แตกในปี 1980 นี้ก็คือยุคแรกที่ทองคำนั้นพุ่งตัวนั้นเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทองคำนั้นเอง
ยุคที่ 2 ความเหมือนที่แตกต่าง ปี 1980 - 2011
หลังจากที่ราคาทองคำช่วงปี 1970-1980 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและราคาสูงสุดในปี 1980 ซึ่งมากกว่าราคาในปี 1970 ประมาณ 16 เท่า หลังจากนั้นในปี 1980 ภายในเวลาเพียง 20 วันแรกของปี ราคาทองคำพุ่งทะยานขึ้นอีกครั้งร้อยละ 52 จนสูงสุดที่ 850 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์
ก่อนที่จะมีการดิ่งลงอย่างรวดเร็วและลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2000 โดยเหตุการณ์ทั้งหมดกินระยะขาขึ้นมา 10 ปีและช่วงระยะขาลงมาอีก 20 ปี ขณะที่ช่วงปี 1999-2011 ราคาทองคำเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง แบบค่อยๆเป็นค่อยไปโดยที่ผ่านมา 11 ปีเพิ่มขึ้นเพียง 6.3 เท่า นี้ก็คือยุคที่ 2 ที่ทองคำได้ทำราคาสูงเอาไว้นั้นเอง จึงทำให้คนนั้นหันมาสนใจทองคำกันมากขึ้นกว่าเดิมนั้นเอง
ยุคที่ 3 ยุคทองรุ่งเรือง ปี 2015 - ปัจจุบัน
ต่อมาเป็นยุคที่ 3 นั้นคือตั้งแต่ในปี 2015 ราคาทองคำเริ่มมีการปรับตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน โดยราคาทองคำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 107 % ในระยะเวลา 89 เดือน โดยมีเหตุการณ์สำคัญกระทบต่อเศรษฐกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน วิกฤตโควิด สงครามรัสเซียและยูเครน จนล่าสุด FED ส่งสัญญาณลดอัตราการขึ้นดอกเบี้ยลและสงครามระหว่างอิสราเอล-อิหร่านที่ผ่านมานั้นเองครับ
ทำให้จุดสูงสุดของราคาทองคำสามารถบอกได้ยากว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แต่เหตุการณ์สำคัญคือการลดดอกเบี้ยของ Fed ที่เริ่มต้นขึ้น และเป็นสัญญาณเศรษฐกิจขาลงในรอบนี้ และข่าวล่าสุดที่ประเทศจีนจะหยุดซื้อทองคำชั่วคราว นั่นอาจจะเป็น จุดสูงสุดของราคาทองเท่าที่ไม่เคยมีมาก่อน
ราคาทองคำจะเริ่มวิ่งขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา จากการที่นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าห์ลดลง บวกกับขณะที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศต่างปรับสัดส่วนเงินทุนสำรอง และการประกาศสงครามต่างๆ ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในบิทคอยน์และทองคำมาก
ขึ้น หากดูจากวัฏจักรของการเริ่มลดดอกเบี้ยของ Fed ที่ผ่านมา ราคาทองคำพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าการลดดอกเบี้ยจะมาเร็วหรือช้ากว่าสัญญาณการเกิด Recession นี้ก็คือยุคที่ 3 คือตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบันทองค่อยๆปรับตัวขึ้นมาเรื่อยๆนั้นเองครับ
มีการสงสัยกันมากว่าราคาทองคำจะกำลังเป็นฟองสบู่แตก แต่การทรุดตัวของราคาก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกันด้วยเหตุผลหลายประการคือ
1.ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในสหรัฐและยุโรปนั้นถือเป็นปัญหาระยะยาว ซึ่งเป็นหลักประกันได้ว่าสถานะเงินดอลล่าห์น่าจะอยู่ภาวะอ่อนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการลงทุนในตลาดเงินจึงไม่คุ้มค่า แน่นอนในช่วงเวลานี้ จึงมีนักลงทุนลงทุนกับทองคำอยู่เรื่อยๆนั้นอาจจะทำให้ราคาทองอาจทรุดตัวลงมาได้ยากนั้นเองครับ
2.คือจากปัญหาหนี้สาธารณะในสหรัฐส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐต้องใช้มาตรการลดค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐยังต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ 5.5% ต่อไป
3.สภาทองคำโลกยังชี้ว่าอินเดียและจีนเป็นผู้ที่เข้ามารับบทบาทใหม่ในทองคำโลก และจะเป็นผู้นำความต้องการทองคำโลกด้วย นอกจากเปลี่ยนบทบาทของธนาคารทั่วโลกจากการเป็นผู้ขายสู่การเป็นผู้ซื้อทองคำส่งผลกระทบให้ความต้องการและราคาทองคำสูงขึ้น แต่ตอนนี้ประเทศจีนประกาศจะหยุดซื้อทองคำแล้วอาจจะทำให้ราทองคำอาจจะหยุดขึ้นสักพักนึงก็เป็นได้
หากพิจารณาถึง ”วิกฤตฟองสบู่” คือภาวะเมื่อราคาตกแล้วไม่มีความต้องการซื้อเหลือแล้วนั้น พฤติกรรมทองคำไม่เป็นเช่นกันในเวลานี้ ถึงแม้ว่าช่วงปี 1970-1980 จะเกิดมาขึ้นมาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากราคาทองคำตกก็จะมีแรงซื้อเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญ เพราะทั่วโลกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ หากมองว่า “วิกฤตฟองสบู่” คือราคาขึ้นโดยปราศจากเหตุผลพื้นฐานรองรับ ในส่วนนี้ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะการปรับตัวราคาทองคำขึ้นนั้นยังมีปัจจัยรองรับอยู่หนาแน่น
“โดยนักวิเคราะห์หลายท่านได้เล็งเห็นว่าหากใครยังมีสัดส่วนทองคำในพอร์ตค่อนข้างน้อยก็ยังสามารถทยอยซื้อแบบ DCA ได้”
สรุปคือถ้าจะมองว่าทองคำมีโอกาศที่จะเข้าสู่ วิกฤตฟองสบู่แตก นั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ยากเพราะด้วยปัจจัยเศรษฐกิจและสงครามทั่วโลกที่เกิดขึ้นในเวลานี้ คาดว่าจะส่งผลกินเป็นระยะนานหลายปี เพราะเมื่อราคาลงก็ยังมีความต้องการซื้อเข้ามาอยู่เรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ให้ วิกฤตฟองสบู่แตก เกิดขึ้นได้ยากมากๆในช่วงเวลานี้นั้นเองครับ