กลยุทธ์การเทรดแบบ Breakout คืออะไร?
กลยุทธ์การเทรดแบบ Breakout คือระบบการเทรดที่เราจะออกออเดอร์ทันทีเมื่อราคาสามารถทะลุผ่านแนวรับหรือแนวต้านได้ โดยปกติแล้วการเทรดแบบทั่วไปนั้น เมื่อราคาลงมาแตะที่บริเวณแนวรับเราถึงจะเปิดออเดอร์ Buy เพื่อทำกำไรจากการดีดตัวขึ้น หรือเมื่อราคาขึ้นไปแตะที่บริเวณแนวต้านเราถึงจะทำการการเปิดออเดอร์ Sell เพื่อทำกำไรจากการกลับตัวของราคา แต่การเทรด Breakout นั้นจะเป็นการเทรดที่เราจะมองหาโมเมนตัมของราคาหรือเทรนด์ที่มีความแข็งแกร่งสูง จนสามารถทะลุแนวรับหรือแนวต้านได้เราถึงจะทำการเปิดออเดอร์ตามโมเมนตัมของตลาด
ก่อนที่เราจะไปไกลกว่านั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าระดับแนวรับและแนวต้านคืออะไรก่อน ก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจการเทรด Breakout ได้ไม่ยากเลย
แนวรับ (Support level) คืออะไร?
แนวรับหรือ Support level คือ เส้นที่จะแสดงระดับแนวหรือระดับที่ราคาลงมาแตะแล้วดีดตัวกลับขึ้นไปหรือไม่สามารถปรับตัวลงต่ำกว่านั้นได้
แนวต้าน (Resistance level) คืออะไร?
แนวต้านหรือ Resistance level คือ เส้นทีจะแสดงระดับแนวหรือระดับที่ราคาขึ้นไปแตะแล้วพักตัวกลับลงมาหรือไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปสูงกว่านั้นได้
หากเราต้องการใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Breakout สิ่งสำคัญคือเราจะต้องมองแนวรับและแนวต้านให้เป็นก่อนเนื่องจากระดับแนวรับและแนวต้านถูกมองว่าเป็นจุดที่มีความแข็งแกร่งซึ่งราคามีโอกาสที่จะหยุดและกลับตัวที่แนวนั้นๆแต่หากเกิดการทะลุไปได้ก็อาจเป็นสัญญานว่าปริมาณของออเดอร์ฝั่ง Buy / Sell นั้นมีโมเมนตัมอยู่มากเราจึงสามารถใช้จุดๆนี้ในการทำกำไรได้
วิธีเทรดโดยใช้ Breakout Trading
การเทรดแบบ Breakout คือการเปิดออเดอร์เมื่อราคาทะลุระดับแนวต้าน สำหรับเทรดเดอร์หลายคน การที่ราคาจะทะลุแนวต้านหมายความว่าราคามีโมเมนตัมฝั่ง Buy ที่สูงมากจึงคาดการณ์ได้ว่าราคานั้นอาจมีการเคลื่อนที่ไปต่อในระดับที่สูงขึ้น เราก็จะทำการเปิดออเดอร์ Buy ตามนั่นเอง
ในทางกลับกัน คุณสามารถใช้รายการฝ่าวงล้อมเมื่อราคาทะลุระดับแนวรับได้ สำหรับเทรดเดอร์หลายคน การที่ราคาจะทะลุแนวรับหมายความว่าราคามีโมเมนตัมฝั่ง Sell ที่สูงมากจึงคาดการณ์ได้ว่าราคานั้นอาจมีการเคลื่อนที่ไปต่อในระดับที่ต่ำลง เราก็จะทำการเปิดออเดอร์ Sell ตามนั้นเอง
ซึ่งการเทรดแบบนี้เทรดเดอร์อาจจะต้องติดตามการเคลื่อนไหวของราคาอย่างใกล้ชิด หรือโดยการวางคำสั่ง buy-stop และ sell-stop โดยปกติแล้วเราจะทำการวางจุด SL ไว้สูงกว่าระดับแนวต้านเดิมหรือต่ำกว่าระดับแนวรับเดิมก็ได้เช่นกัน