PPI / Core PPI
PPI เป็นหนึ่งในข่าวที่สามารถชี้อัตราเงินเฟ้อ และสามารถคำนวนหรือวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยทางเฟดหรือธนาคารกลางสหรัฐจะเป็นผู้ประกาศเลขดัชนีนี้ ซึ่งจะมีอีกหนึ่งข่าวที่คล้ายกันก็คือ Core PPI แล้วเจ้าตัว PPI และ Core PPI คืออะไร? แตกต่างกันยังไง? วันนี้แอดจะมาเจาะลึกและอธิบายง่ายๆ รับรองว่าอ่านจบเข้าใจแน่นอนครับ
PPI กับ Core PPI คืออะไร?
– PPI ย่อมาจาก Producer Price Index แปลเป็นไทยก็คือ ดัชนีราคาผู้ผลิต
– Core PPI ย่อมาจาก Core Producer Price Index แปลเป็นไทยก็คือ ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน
มันก็คือตัวเลขดัชนีราคาขายของผู้ผลิตนั้นเอง การวัดของมันคือการเปลี่ยนแปลงราคาขายสินค้าและบริการของผู้ผลิต หากต้องการเห็นภาพชัดๆ ลองสมมติว่าเราเปิดบริษัทผลิตจักรยาน แน่นอนว่าเราต้องการซื้อชิ้นส่วนประกอบหรืออะไหล่ เช่น เหล็ก ยาง อะลูมิเนียม และนอกจากนี้เรายังต้องจ่ายค่าแรง ค่าเช่าโรงงานเพื่อให้เราผลิตจักรยานต่อได้ สมมติว่าตอนนี้เป็นช่วงต้นปีราคาต้นทุนของต่างๆ เพิ่มขึ้นอาจจะเพราะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น การขนส่งวัสดุนั้นๆหยุดชะงักระหว่างบริษัทหรือนโยบายของรัฐบาล ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของคุณเพิ่มขึ้น พอต้นทุนเพิ่มขึ้นคุณก็ต้องตัดสินใจขึ้นราคาจักรยานเพื่อรักษาอัตรากำไร คุณจึงขายจักรยานให้กับร้านค้าในราคาที่เพิ่มขึ้น โดยการคำนวนเลขดัชนีทางนักวิเคราะห์จะรวบรวมราคาการผลิต และผลผลิตในการคำนวน PPI หรือ Core PPI ครับ
PPI กับ Core PPI แตกต่างกันยังไง?
– PPI หรือ Producer Price Index จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของราคาการผลิตทั้งวัสดุ และบริการ
– Core PPI หรือCore Producer Price Index จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของราคาการผลิตทั้งวัสดุ และบริการที่ไม่รวมสินค้าอาหารและพลังงาน
มีผลกระทบต่อทองคำไหม?
PPI ไม่ได้มีผลกระทบต่อทองคำโดยตรงถ้าเทียบกับข่าวอื่นๆ แต่ PPI จะบอกแรงกดดันเงินเฟ้อของผู้ผลิตมากกว่า การเปลี่ยนแปลงดัชนีของ PPI จะบอกแนวโน้มเงินเฟ้อของสกุลเงิน ซึ่งก็กระทบทางอ้อมต่อทองคำและน้ำมันอยู่ดี
PPI กับเทรดเดอร์
สำหรับเทรดเดอร์แล้วก็มักจะเอาเลขดัชนีจากข่าวมาคาดการณ์ทั้งก่อนและหลังข่าวประกาศ ซึ่งถ้าหากเลขประกาศออกมาดีกว่าเลขคาดการณ์ก็จะเป็นผลดีต่อสกุลเงินหลักอย่าง USD ดอลลาร์นั่นเอง ซึ่งจะประกาศควบ 2 ข่าวพร้อมกันดังนี้
- PPI Core
- PPI
ในบางครั้งจะออกพร้อมกับข่าวอื่นๆ เช่น Core Retail Sales m/m และ Retail Sales m/m ซึ่งกราฟจะออกไปทางไหนก็ต้องดูผลกระทบรวมกับข่าวที่ออกพร้อมกัน
สุดท้ายหากเลขสูงเกินไปก็ส่งผลให้มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางในการออกนโยบายการเงินและดอกเบี้ยอาจเพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกันหากตัวเลขออกมาต่ำเกินไปก็บ่งบอกได้ถึงอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเช่นกัน